รัฐบาลขิงแก่ได้ที หลังผลักดันอีโคคาร์สำเร็จ เตรียมผลักดันโครงการสนับสนุนไทย เป็นฐานการผลิตรถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่ หรือบิ๊กไบค์ ตั้งแต่ขนาดเครื่องยนต์ 500 ซีซีขึ้นไป หลังจากค่ายรถระดับนำของโลกจากอังกฤษ “ไทรอัมพ์” ตัดสินใจนำเม็ดเงินกว่า 3,500 ล้านบาท ลงทุนตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วนและประกอบในไทย ที่จังหวัดระยอง
และแน่นอนแผนผลักดันดังกล่าว ย่อมต้องได้รับความสนใจจากค่ายรถยักษ์ใหญ่จากญี่ปุ่น ที่ปัจจุบันยึดตลาดรถจักรยานยนต์ขนาดเล็กในไทยอยู่ เพราะก่อนหน้านี้ประกาศรุกตลาดบิ๊กไบค์แล้ว โดย “ยามาฮ่า” ลุยแน่นอนปลายปีนี้ พร้อมลงทุนกว่า 15 ล้านบาท เปิดโชว์รูมรองรับโดยเฉพาะ ขณะที่เจ้าตลาด “ฮอนด้า” แม้จะยังสงวนท่าที แต่ก็รับกำลังศึกษาแผนนำผลิตภัณฑ์ประเภทใหม่ๆ รวมถึงบิ๊กไบค์ หรือสกู๊ตเตอร์ขนาดใหญ่มาเสริมตลาดเช่นกัน
หลังจากรัฐบาลขิงแก่ภายใต้การนำของ “พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์” นายกรัฐมนตรี ได้ผลักดันโครงการรถประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล หรืออีโคคาร์ คลอดออกมาเป็นรูปเป็นร่าง และก็มีค่ายรถ “ฮอนด้า” เด้งรับลูกประกาศลงทุนไปแล้ว ด้วยมูลค่าโครงการกว่า 6.2 พันล้านบาท และยังมีอีกหลายค่ายที่สนใจเช่นกัน เพียงแต่ต้องขอศึกษาตามกรอบเวลาที่รัฐบาลเปิดโอกาสให้ จึงยังไม่เปิดตัวออกมาชัดเจนเท่านั้น
โครงการอีโคคาร์จึงทำให้รัฐบาลขิงแก่ยิ้มแป้นทีเดียว และจะว่าไปแล้วถือเป็นผลงานชิ้นแรก ที่รัฐบาลขิงแก่ดำเนินการสำเร็จเป็นรูปธรรมชัดเจนก็ว่าได้ นี่จึงทำให้รัฐบาลขิงแก่ดูเหมือนจะคึกคักสุดขีด และเตรียมผลักดันโครงการใหม่ออกมาเสียบต่ออีโคคาร์ทันที
โดยรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่ากระทรวงอุตสาหกรรม “โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์” เปิดเผยภายหลังจากการเดินทางไปเยือนสหราชอาณาจักรและอิตาลี่ ระหว่างวันที่ 25-29 กรกฏคมที่ผ่านมาว่า
จากการพูดคุยกับ นายจอห์น บลัวร์ ประธานบริษัท ไทรอัมพ์ มอเตอร์ไซเคิลส์ ผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่ หรือบิ๊กไบค์ อันดับ 7 ของโลก ภายใต้ชื่อยี่ห้อ “ไทรอัมพ์” ทราบว่าให้ความสนใจลงทุนในไทยเป็นมูลค่ากว่า 3,500 ล้านบาท ภายในระยะเวลา 3 ปี ในการสร้างโรงงานผลิตชิ้นส่วนบิ๊กไบค์ และทำการประกอบ ที่จังหวัดระยอง โดยจะเริ่มผลิตเครื่องยนต์ในปี 2551 เป็นต้นไป
"จากการลงทุนของไทรอัมพ์ดังกล่าว ทำให้รัฐบาลสนใจที่จะขยายฐานการผลิตรถบิ๊กไบค์ เพื่อให้ครบวงจรมากขึ้น จากปัจจุบันไทยเป็นฐานการผลิตรถจักรยานยนต์ขนาดเล็กที่สำคัญของโลกแล้ว โดยให้นายสาธิต ชาญเชาวน์กุล เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ กำหนดแผนส่งเสริมการลงทนผลิตมอเตอร์ไซค์ขนาดใหญ่ ที่มีเครื่องยนต์ขนาด 500 ซีซีขึ้นไป ซึ่งทั่วโลกมีความต้องการมากกว่า 100,000 คันต่อปี"
ส่วนการกำหนดรายละเอียดการส่งเสริมการลงทุนคล้ายกับการผลิตรถยนต์อีโคคาร์ เพื่อให้ไทยเป็นฐานการผลิตรถบิ๊กไบค์ของโลก และมั่นใจว่านอกเหนือจากไทรอัมพ์แล้ว ยังมีผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ในไทยอีก 2-3 ราย ที่จะให้ความสนใจนโยบายดังกล่าว คาดว่าแผนการส่งเสริมการลงทุนจะแล้วเสร็จในเร็วๆ นี้
นั่นคือไอเดียบรรเจิดของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอุตสาหกรรม ซึ่งกลับมามีความมั่นใจอย่างเต็มเปี่ยม ภายหลังจากผลักดันโครงการอีโคคาร์แจ้งเกิดสำเร็จ และจะว่าไปแล้วโอกาสผลักดันโครงการบิ๊กไบค์ให้สำเร็จ ดูจะง่ายกว่าอีโคคาร์เสียด้วยซ้ำ
ทั้งนี้ปริมาณตลาดรถบิ๊กไบค์ในไทยเองก็ไม่ได้ใหญ่โตนัก การที่ไทรอัมพ์มาลงทุนผลิตชิ้นส่วนและประกอบในไทย คงน่าจะมาจากเรื่องของอัตราค่าแรงของไทยไม่สูงมาก ขณะที่ศักยภาพของผู้ผลิตชิ้นส่วนอยู่ในระดับมาตรฐานสากลอยู่แล้ว การมาตั้งโรงงานในไทยจึงมุ่งที่การส่งออกมากกว่า การชิงหักเหลี่ยมโหดของค่ายรถจักรยานยนต์เจ้าเก่าและเจ้าใหม่ จึงไม่น่าจะรุนแรงมากเหมือนกับรถยนต์ ยิ่งเมื่อรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนเป็นกรณีพิเศษคล้ายกับอีโคคาร์ จึงน่าจะทำให้แต่ละค่ายตอบรับด้วยดี
ในส่วนของไทรอัมพ์เป็นบิ๊กไบค์ที่เพิ่งเข้ามารุกตลาดไทยอย่างจริงจัง เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา หลังจากมีการชิมลางมาได้ระยะหนึ่ง ด้วยการแต่งตั้งบริษัท บริทไบค์ จำกัด ภายใต้การนำของพระเอกร่างบึก “ดอม เหตระกูล” และเพื่อนๆ เป็นผู้แทนจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวในไทย
สำหรับระยะแรกนี้บริทไบค์จะนำเข้าบิ๊กไบค์ไทรอัมพ์มาทำตลาดก่อน โดยในการเปิดตัวบริษัทอย่างเป็นทางการ ได้ประกาศจะนำเข้ารถมาทำตลาดในไทยทั้งสิ้น 12 รุ่น ครอบคลุม 3 สไตล์ การขับขี่ของผู้บริโภค ได้แก่ รถแบบโมเดิร์น คลาสสิค ซึ่งขับขี่ง่ายมีรุ่น Bonneville, Bonneville T100, Scramble และ Thruxton อีกแบบรถสปอร์ต เช่นรุ่น Daytona 675, Speed Triple, Sprint ST และ Tiger 1050 และสุดท้ายแบบครุยเซอร์ไลน์ซุปเปอร์เดินทางไกล อาทิ America, Speed Master, Rocket 3 และ Rocket 3 Classic
โดยบิ๊กไบค์ไทรอัมพ์ที่นำเข้ามาจำหน่าย จะมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่คันละ 5 แสนบาท ไปจนถึง 1.2 ล้านบาท โดยบริทไบค์ รับประกัน 2 ปี ไม่จำกัดระยะทาง โดยในส่วนของเครือข่ายนอกจากในกรุงเทพฯ ภายในสิ้นปีนี้เตรียมจะขยายครอบคลุมหัวเมืองใหญ่ เชียงใหม่ ภูเก็ต และพัทยาด้วย
ต่อไปนี้คงต้องจับตาบิ๊กไบค์ยี่ห้อนี้ให้ดี แม้ปัจจุบันชื่อเสียงไทรอัมพ์ในเมืองไทย จะรู้จักกันเพียงเฉพาะกลุ่มเท่านั้น แต่หากรัฐบาลขิงแก่ผลักดันและให้การสนับสนุนบิ๊กไบค์กรณีพิเศษสำเร็จ เชื่อว่าไทรอัมพ์จะประกาศศักดาแบรนด์รถระดับโลกให้ชาวไทยได้รับรู้กันมากกว่านี้แน่ๆ
อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าบรรดาค่ายรถยักษ์ใหญ่สัญชาติญี่ปุ่น จะปล่อยตลาดนี้ให้กับค่ายรถสัญชาติยุโรป อย่างไทรอัมพ์ที่กำลังเดินหน้าทั้งผลิตและขายในไทย หรือบีเอ็มดับเบิลยูที่ทำตลาดในไทยมาได้ระหนึ่งแล้ว เพราะบรรดารถจักรยานยนต์ญี่ปุ่นได้ให้ความสนใจรุกตลาดบิ๊กไบค์อย่างจริงจังเช่นกัน
เริ่มจาก “ยามาฮ่า” ที่ประกาศชัดเจนปีนี้ทำตลาดบิ๊กไบค์แน่นอน โดยในงานมอเตอร์โชว์เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ได้มีการนำบิ๊กไบค์ถึง 6 รุ่นมาเผยโฉมให้ลูกค้าได้ยลโฉม ก่อนเปิดขายอย่างเป็นทางการช่วงปลายปีนี้ ที่สำคัญได้ลงทุนเตรียมเปิดโชว์รูมมูลค่ากว่า 15 ล้านบาท ที่บริเวณด้านหลังศูนย์การค้าเอสพลานาด บนถนนรัชดาภิเษก เพื่อรองรับการทำตลาดบิ๊กไบค์เพียงอย่างเดียว ขณะที่ต่างจังหวัดเล็งขยายไปที่เชียงใหม่ และพัทยา เช่นเดียวกับไทรอัมพ์เพราะมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายจำนวนมาก
“บิ๊กไบค์ยามาฮ่าที่จะนำมาจำหน่าย มีตั้งแต่ขนาด 400-1300 ซีซี ราคาเริ่มต้นที่ 2-3 แสนบาทขึ้นไป แม้ตลาดรถจักรยานยนต์ในไทยจะหดตัว แต่บิ๊กไบค์เจาะตลาดเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบรถประเภทนี้พิเศษ ราคาจึงไม่เป็นอุปสรรค์แต่อย่างใด โดยช่วงแรกยามาฮ่าตั้งเป้าขายเดือนละประมาณ 20 คัน”
จินตนา อุดมทรัพย์ ผู้จัดการใหญ่ด้านการค้า บริษัท ไทยยามาฮ่า มอเตอร์ จำกัด กล่าวและว่า โดยรถที่จะนำเข้ามาทำตลาดคาดว่าจะเป็นรุ่น Majesty 400 บิ๊กสกู๊ตเตอร์ขนาด 400 ซีซี รุ่น YZF-R1 บิ๊กไบค์ขนาด 998 ซีซี รุ่น YZF-R6 ซูเปอร์สปอร์ตจากสนามแข่ง 599 ซีซี รุ่น FZ1 Fazer ขนาด 998 ซีซี FZ6 เครื่องยนต์ 600 ซีซี และรุ่น FJR1300A ขนาดเครื่องยนต์ 1298 ซีซี
ส่วนค่ายยักษ์ใหญ่ “ฮอนด้า” แม้จะยังไม่เผยไต๋ชัดเจนนัก ประกอบกับยังไม่ทราบถึงไอเดียผลักดันให้มีการผลิตบิ๊กไบค์ในไทย โดยการสนับสนุนและส่งเสริมการลงทุนเป็นกรณีพิเศษจากรัฐบาลชิงแก่ แต่ก่อนหน้านี้ก็แย้มออกมาถึงความสนใจที่จะขยายผลิตภัณฑ์ประเภทใหม่ๆ สู่ตลาดในไทย ไม่ว่าจะเป็นบิ๊กไบค์ หรือสกู๊ตเตอร์ขนาดใหญ่
“หากมองสภาวะตลาดขณะนี้ บิกไบค์และสกู๊ตเตอร์ขนาดใหญ่ ยังถือเป็นรถเฉพาะกลุ่มอยู่ แต่อนาคตก็ย่อมต้องขยายตัวมากขึ้น ส่วนจะเป็นเมื่อไหร่ฮอนด้ากำลังศึกษาอยู่ ซึ่งในการเพิ่มไลน์สินค้าของฮอนด้า ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก และแน่นอนก็ย่อมต้องเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาตลาดรถประเภทนี้เมื่อไหร่ ฮอนด้าก็พร้อมที่จะทำตลาดเช่นกัน” ชินโกะ คิมาตะ กรรมการบรหารและผู้จัดการทั่วไปฝ่ายการตลาด บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัดกล่าว
จากความเคลื่อนไหวของสองค่ายยักษ์ใหญ่รถจักรยานยนต์ในไทย โดยเฉพาะยามาฮ่าที่มีความชัดเจนแน่นอน กับการทำตลาดบิ๊กไบค์ในไทย หรือฮอนด้าที่แม้ะยังตอบแบบสงวนท่าทีอยู่ แต่ก็ยืนยันพร้อมจะทำตลาดเช่นกัน หากตลาดมีความต้องการ
เหตุนี้เมื่อรัฐบาลขิงแก่ประกาศนโยบายชัดเจน ที่จะผลักดันให้ไทยเป็นฐานการผลิตบิ๊กไบค์ของโลก ด้วยการสนับสนุนส่งเสริมเป็นกรณีพิเศษ เช่นเดียวกับอีโคคาร์ จึงน่าจะทำให้สองค่ายยักษ์ใหญ่ ที่มีโรงงานผลิตรถจักรยานยนต์ในไทยใหญ่ติดอันดับต้นๆ ของโลก พร้อมที่จะตอบรับทันทีเช่นกัน
เพิ่มเติม http://www.oknation.net
และแน่นอนแผนผลักดันดังกล่าว ย่อมต้องได้รับความสนใจจากค่ายรถยักษ์ใหญ่จากญี่ปุ่น ที่ปัจจุบันยึดตลาดรถจักรยานยนต์ขนาดเล็กในไทยอยู่ เพราะก่อนหน้านี้ประกาศรุกตลาดบิ๊กไบค์แล้ว โดย “ยามาฮ่า” ลุยแน่นอนปลายปีนี้ พร้อมลงทุนกว่า 15 ล้านบาท เปิดโชว์รูมรองรับโดยเฉพาะ ขณะที่เจ้าตลาด “ฮอนด้า” แม้จะยังสงวนท่าที แต่ก็รับกำลังศึกษาแผนนำผลิตภัณฑ์ประเภทใหม่ๆ รวมถึงบิ๊กไบค์ หรือสกู๊ตเตอร์ขนาดใหญ่มาเสริมตลาดเช่นกัน
หลังจากรัฐบาลขิงแก่ภายใต้การนำของ “พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์” นายกรัฐมนตรี ได้ผลักดันโครงการรถประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล หรืออีโคคาร์ คลอดออกมาเป็นรูปเป็นร่าง และก็มีค่ายรถ “ฮอนด้า” เด้งรับลูกประกาศลงทุนไปแล้ว ด้วยมูลค่าโครงการกว่า 6.2 พันล้านบาท และยังมีอีกหลายค่ายที่สนใจเช่นกัน เพียงแต่ต้องขอศึกษาตามกรอบเวลาที่รัฐบาลเปิดโอกาสให้ จึงยังไม่เปิดตัวออกมาชัดเจนเท่านั้น
โครงการอีโคคาร์จึงทำให้รัฐบาลขิงแก่ยิ้มแป้นทีเดียว และจะว่าไปแล้วถือเป็นผลงานชิ้นแรก ที่รัฐบาลขิงแก่ดำเนินการสำเร็จเป็นรูปธรรมชัดเจนก็ว่าได้ นี่จึงทำให้รัฐบาลขิงแก่ดูเหมือนจะคึกคักสุดขีด และเตรียมผลักดันโครงการใหม่ออกมาเสียบต่ออีโคคาร์ทันที
โดยรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่ากระทรวงอุตสาหกรรม “โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์” เปิดเผยภายหลังจากการเดินทางไปเยือนสหราชอาณาจักรและอิตาลี่ ระหว่างวันที่ 25-29 กรกฏคมที่ผ่านมาว่า
จากการพูดคุยกับ นายจอห์น บลัวร์ ประธานบริษัท ไทรอัมพ์ มอเตอร์ไซเคิลส์ ผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่ หรือบิ๊กไบค์ อันดับ 7 ของโลก ภายใต้ชื่อยี่ห้อ “ไทรอัมพ์” ทราบว่าให้ความสนใจลงทุนในไทยเป็นมูลค่ากว่า 3,500 ล้านบาท ภายในระยะเวลา 3 ปี ในการสร้างโรงงานผลิตชิ้นส่วนบิ๊กไบค์ และทำการประกอบ ที่จังหวัดระยอง โดยจะเริ่มผลิตเครื่องยนต์ในปี 2551 เป็นต้นไป
"จากการลงทุนของไทรอัมพ์ดังกล่าว ทำให้รัฐบาลสนใจที่จะขยายฐานการผลิตรถบิ๊กไบค์ เพื่อให้ครบวงจรมากขึ้น จากปัจจุบันไทยเป็นฐานการผลิตรถจักรยานยนต์ขนาดเล็กที่สำคัญของโลกแล้ว โดยให้นายสาธิต ชาญเชาวน์กุล เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ กำหนดแผนส่งเสริมการลงทนผลิตมอเตอร์ไซค์ขนาดใหญ่ ที่มีเครื่องยนต์ขนาด 500 ซีซีขึ้นไป ซึ่งทั่วโลกมีความต้องการมากกว่า 100,000 คันต่อปี"
ส่วนการกำหนดรายละเอียดการส่งเสริมการลงทุนคล้ายกับการผลิตรถยนต์อีโคคาร์ เพื่อให้ไทยเป็นฐานการผลิตรถบิ๊กไบค์ของโลก และมั่นใจว่านอกเหนือจากไทรอัมพ์แล้ว ยังมีผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ในไทยอีก 2-3 ราย ที่จะให้ความสนใจนโยบายดังกล่าว คาดว่าแผนการส่งเสริมการลงทุนจะแล้วเสร็จในเร็วๆ นี้
นั่นคือไอเดียบรรเจิดของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอุตสาหกรรม ซึ่งกลับมามีความมั่นใจอย่างเต็มเปี่ยม ภายหลังจากผลักดันโครงการอีโคคาร์แจ้งเกิดสำเร็จ และจะว่าไปแล้วโอกาสผลักดันโครงการบิ๊กไบค์ให้สำเร็จ ดูจะง่ายกว่าอีโคคาร์เสียด้วยซ้ำ
ทั้งนี้ปริมาณตลาดรถบิ๊กไบค์ในไทยเองก็ไม่ได้ใหญ่โตนัก การที่ไทรอัมพ์มาลงทุนผลิตชิ้นส่วนและประกอบในไทย คงน่าจะมาจากเรื่องของอัตราค่าแรงของไทยไม่สูงมาก ขณะที่ศักยภาพของผู้ผลิตชิ้นส่วนอยู่ในระดับมาตรฐานสากลอยู่แล้ว การมาตั้งโรงงานในไทยจึงมุ่งที่การส่งออกมากกว่า การชิงหักเหลี่ยมโหดของค่ายรถจักรยานยนต์เจ้าเก่าและเจ้าใหม่ จึงไม่น่าจะรุนแรงมากเหมือนกับรถยนต์ ยิ่งเมื่อรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนเป็นกรณีพิเศษคล้ายกับอีโคคาร์ จึงน่าจะทำให้แต่ละค่ายตอบรับด้วยดี
ในส่วนของไทรอัมพ์เป็นบิ๊กไบค์ที่เพิ่งเข้ามารุกตลาดไทยอย่างจริงจัง เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา หลังจากมีการชิมลางมาได้ระยะหนึ่ง ด้วยการแต่งตั้งบริษัท บริทไบค์ จำกัด ภายใต้การนำของพระเอกร่างบึก “ดอม เหตระกูล” และเพื่อนๆ เป็นผู้แทนจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวในไทย
สำหรับระยะแรกนี้บริทไบค์จะนำเข้าบิ๊กไบค์ไทรอัมพ์มาทำตลาดก่อน โดยในการเปิดตัวบริษัทอย่างเป็นทางการ ได้ประกาศจะนำเข้ารถมาทำตลาดในไทยทั้งสิ้น 12 รุ่น ครอบคลุม 3 สไตล์ การขับขี่ของผู้บริโภค ได้แก่ รถแบบโมเดิร์น คลาสสิค ซึ่งขับขี่ง่ายมีรุ่น Bonneville, Bonneville T100, Scramble และ Thruxton อีกแบบรถสปอร์ต เช่นรุ่น Daytona 675, Speed Triple, Sprint ST และ Tiger 1050 และสุดท้ายแบบครุยเซอร์ไลน์ซุปเปอร์เดินทางไกล อาทิ America, Speed Master, Rocket 3 และ Rocket 3 Classic
โดยบิ๊กไบค์ไทรอัมพ์ที่นำเข้ามาจำหน่าย จะมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่คันละ 5 แสนบาท ไปจนถึง 1.2 ล้านบาท โดยบริทไบค์ รับประกัน 2 ปี ไม่จำกัดระยะทาง โดยในส่วนของเครือข่ายนอกจากในกรุงเทพฯ ภายในสิ้นปีนี้เตรียมจะขยายครอบคลุมหัวเมืองใหญ่ เชียงใหม่ ภูเก็ต และพัทยาด้วย
ต่อไปนี้คงต้องจับตาบิ๊กไบค์ยี่ห้อนี้ให้ดี แม้ปัจจุบันชื่อเสียงไทรอัมพ์ในเมืองไทย จะรู้จักกันเพียงเฉพาะกลุ่มเท่านั้น แต่หากรัฐบาลขิงแก่ผลักดันและให้การสนับสนุนบิ๊กไบค์กรณีพิเศษสำเร็จ เชื่อว่าไทรอัมพ์จะประกาศศักดาแบรนด์รถระดับโลกให้ชาวไทยได้รับรู้กันมากกว่านี้แน่ๆ
อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าบรรดาค่ายรถยักษ์ใหญ่สัญชาติญี่ปุ่น จะปล่อยตลาดนี้ให้กับค่ายรถสัญชาติยุโรป อย่างไทรอัมพ์ที่กำลังเดินหน้าทั้งผลิตและขายในไทย หรือบีเอ็มดับเบิลยูที่ทำตลาดในไทยมาได้ระหนึ่งแล้ว เพราะบรรดารถจักรยานยนต์ญี่ปุ่นได้ให้ความสนใจรุกตลาดบิ๊กไบค์อย่างจริงจังเช่นกัน
เริ่มจาก “ยามาฮ่า” ที่ประกาศชัดเจนปีนี้ทำตลาดบิ๊กไบค์แน่นอน โดยในงานมอเตอร์โชว์เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ได้มีการนำบิ๊กไบค์ถึง 6 รุ่นมาเผยโฉมให้ลูกค้าได้ยลโฉม ก่อนเปิดขายอย่างเป็นทางการช่วงปลายปีนี้ ที่สำคัญได้ลงทุนเตรียมเปิดโชว์รูมมูลค่ากว่า 15 ล้านบาท ที่บริเวณด้านหลังศูนย์การค้าเอสพลานาด บนถนนรัชดาภิเษก เพื่อรองรับการทำตลาดบิ๊กไบค์เพียงอย่างเดียว ขณะที่ต่างจังหวัดเล็งขยายไปที่เชียงใหม่ และพัทยา เช่นเดียวกับไทรอัมพ์เพราะมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายจำนวนมาก
“บิ๊กไบค์ยามาฮ่าที่จะนำมาจำหน่าย มีตั้งแต่ขนาด 400-1300 ซีซี ราคาเริ่มต้นที่ 2-3 แสนบาทขึ้นไป แม้ตลาดรถจักรยานยนต์ในไทยจะหดตัว แต่บิ๊กไบค์เจาะตลาดเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบรถประเภทนี้พิเศษ ราคาจึงไม่เป็นอุปสรรค์แต่อย่างใด โดยช่วงแรกยามาฮ่าตั้งเป้าขายเดือนละประมาณ 20 คัน”
จินตนา อุดมทรัพย์ ผู้จัดการใหญ่ด้านการค้า บริษัท ไทยยามาฮ่า มอเตอร์ จำกัด กล่าวและว่า โดยรถที่จะนำเข้ามาทำตลาดคาดว่าจะเป็นรุ่น Majesty 400 บิ๊กสกู๊ตเตอร์ขนาด 400 ซีซี รุ่น YZF-R1 บิ๊กไบค์ขนาด 998 ซีซี รุ่น YZF-R6 ซูเปอร์สปอร์ตจากสนามแข่ง 599 ซีซี รุ่น FZ1 Fazer ขนาด 998 ซีซี FZ6 เครื่องยนต์ 600 ซีซี และรุ่น FJR1300A ขนาดเครื่องยนต์ 1298 ซีซี
ส่วนค่ายยักษ์ใหญ่ “ฮอนด้า” แม้จะยังไม่เผยไต๋ชัดเจนนัก ประกอบกับยังไม่ทราบถึงไอเดียผลักดันให้มีการผลิตบิ๊กไบค์ในไทย โดยการสนับสนุนและส่งเสริมการลงทุนเป็นกรณีพิเศษจากรัฐบาลชิงแก่ แต่ก่อนหน้านี้ก็แย้มออกมาถึงความสนใจที่จะขยายผลิตภัณฑ์ประเภทใหม่ๆ สู่ตลาดในไทย ไม่ว่าจะเป็นบิ๊กไบค์ หรือสกู๊ตเตอร์ขนาดใหญ่
“หากมองสภาวะตลาดขณะนี้ บิกไบค์และสกู๊ตเตอร์ขนาดใหญ่ ยังถือเป็นรถเฉพาะกลุ่มอยู่ แต่อนาคตก็ย่อมต้องขยายตัวมากขึ้น ส่วนจะเป็นเมื่อไหร่ฮอนด้ากำลังศึกษาอยู่ ซึ่งในการเพิ่มไลน์สินค้าของฮอนด้า ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก และแน่นอนก็ย่อมต้องเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาตลาดรถประเภทนี้เมื่อไหร่ ฮอนด้าก็พร้อมที่จะทำตลาดเช่นกัน” ชินโกะ คิมาตะ กรรมการบรหารและผู้จัดการทั่วไปฝ่ายการตลาด บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัดกล่าว
จากความเคลื่อนไหวของสองค่ายยักษ์ใหญ่รถจักรยานยนต์ในไทย โดยเฉพาะยามาฮ่าที่มีความชัดเจนแน่นอน กับการทำตลาดบิ๊กไบค์ในไทย หรือฮอนด้าที่แม้ะยังตอบแบบสงวนท่าทีอยู่ แต่ก็ยืนยันพร้อมจะทำตลาดเช่นกัน หากตลาดมีความต้องการ
เหตุนี้เมื่อรัฐบาลขิงแก่ประกาศนโยบายชัดเจน ที่จะผลักดันให้ไทยเป็นฐานการผลิตบิ๊กไบค์ของโลก ด้วยการสนับสนุนส่งเสริมเป็นกรณีพิเศษ เช่นเดียวกับอีโคคาร์ จึงน่าจะทำให้สองค่ายยักษ์ใหญ่ ที่มีโรงงานผลิตรถจักรยานยนต์ในไทยใหญ่ติดอันดับต้นๆ ของโลก พร้อมที่จะตอบรับทันทีเช่นกัน
เพิ่มเติม http://www.oknation.net
0 comments:
Post a Comment